แถลงการณ์สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่ง ประเทศไทย ร่วมกันปกป้องอธิปไตยแห่งการกีฬา
แถลงการณ์สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่ง
ประเทศไทย
ร่วมกันปกป้องอธิปไตยแห่งการกีฬา
จากที่หลายสมาคมกีฬาได้มีความกังวลต่อการเลือกตั้งประธานคณะ
กรรมการโอลิมปิดแห่งประเทศไทยคนใหม่ ที่อาจจะสร้างความแตกแยก
และอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนากีฬาของชาติอย่างมาก โดยเชื่อกันว่า
จะมีการใช้อำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงด้วยนั้น
สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย องค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวชนการ
กีฬา ที่ก่อตั้งมายาวนานถึง 60 ปี ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งประธานคณะ
กรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ที่
กำลังจะมีขึ้น ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างอน่าคตใหม่ให้
กับวงการกีฬาไทย เพื่อก้าวไปสู่ระดับสากลและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ
ชาติ
สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการประชม
สมัชชาใหญ่สามัญของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยที่จะถึงนี้ จะ
ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเป็นที่ยอมรับ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ
กำหนดทิศทางของการกีฬาประเทศไทย ให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป
จากธรรมนูญข้อบังคับโอลิมปิคไทย หมวด 6 คณะกรรมการบริหาร ที่กล่าว
ถึงจำนวนของคณะกรรมการบริหารที่มาจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ที่
สหพันธ์กีฬานานาชาติ (ไอเอฟ)ให้การรับรอง ซึ่งสมาคมกีฬาดังกล่าวมาจาก
กีฬาที่มีแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาว รวมไปถึงสมาคมกีฬาที่
บรรจุแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อย่างน้อย 2 ครั้ง ให้มีการเลือกตัวแทน 23
คน จาก 37 สมาคมก็ฬา เพื่อเข้ามาเป็นกรรมการบริหารนั้น
สมาคมผู้สื่อข่าวก็ฟ้าแห่งประเทศไทยขอเรียกร้องให้ทุกสมาคมกีฬาได้ร่วม
เข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหาร มีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจ เพื่อความสมานฉันท์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปราศจากการ
แข่งขัน ซึ่งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกสมาคมกีฬา ได้มีส่วนร่วมรับฟังความ
เคลื่อนไหวในการถ่ายทอดอุดมการณ์โอลิมปิก อันถือเป็นวัตถุประสงค์หลัก
ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล(ไอโอซี) โดยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจาก
กระบวนการดังกล่าวและยังจะช่วยให้วงการกีฬาไทยพัฒนาไปในทิศทางที่
ถูกต้องอีกด้วย
สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย มีความกังวลเกี่ยวกับการนำการเมือง
เข้ามาเกี่ยวข้องกับการกีฬา จึงขอเรียกร้องให้การประชุมสมัชชาใหญ่ดำเนิน
การให้สอดคล้องกับธรรมนูญโอลิมปีก (Olympic Charter) ฉบับล่าสุดในปี
2567 ที่กล่าวถึงพันธกิจของไอโอซี ในข้อที่ 5 "เพื่อสร้างยุทธศาสตร์
โอลิมปิกให้มีความเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ และปกป้องการแทรกแซงจาก
ภายนอก รวมทั้งรักษาและรณรงค์ความเป็นกลางทางการเมือง ตลอดจนคง
ไว้ซึ่งอธิปไตยแห่งการกีฬา" และข้อ 11 "เพื่อต่อต้านการใช้การก็ฟ้าและ
นักกีฬา เป็นเครื่องมือทางการเมืองและการพาณิชย์"
ในข้อเรียกร้องดังกล่าว มีความสอดคล้องกับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาบริ
หารงานในโอลิมปีคไทย ที่ต้องมีความสง่างาม ปราศจากเสียงครหาในทุก
ด้าน โดยเฉพาะเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ด้วยเหตุนี้การตรวจสอบ
คุณสมบัติอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการแทรกแซงจาก
กลุ่มผลประโยชน์ และควรให้มีการเสนอตัว แสดงวิสัยทัศน์เพื่อลงรับเลือก
ตั้ง เช่นเดียวกับไอโอซี แม้ว่าตามธรรมนูญของโอลิมปิคไทย ไม่ได้ระบุไว้
ก็ตาม และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนชาวไทย ในส่วนของผู้ทรง
คุณวุฒินั้นควรจะกำหนดวาระการทำงาน หรือกำหนดอายุอย่างชัดเจน เพื่อที่
จะได้มีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาทำงาน และเปิดโอกาสให้คนรุ่น
ใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการมากขึ้น
สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ขอยืนยันในเจตนารมณ์ที่จะร่วมเป็น
ส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์วงการกีฬาไทยให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม และ
เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเลือกตั้งประธาน
คณะกรรมการโอลิมปีคแห่งประเทศไทยครั้งนี้จะได้บุคคลที่มีความรู้ ความ
สามารถโดยแท้จริง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพื่อ
นำพาวงการกีฬาไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมันคง และจะทำหน้าที่ปกป้อง
อธิปไตยแห่งการกีฬา ด้วยการติดตามและตรวจสอบการดำเนินการอย่าง
ใกล้ชิด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น